ไลโคปีน ช่วยอะไรบ้าง ? กับ ประโยชน์ 9 อย่างที่ดีต่อร่างกาย

ไลโคปีน ช่วยอะไรบ้าง กับ ประโยชน์ 9 อย่างที่ดีต่อร่างกาย

สารบัญเนื้อหา

ไลโคปีน ( Lycopene ) คืออะไร

ไลโคปีน ( Lycopene ) คือ สารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมมาชาติ ในตระกูลแคโรทีนอยด์ เป็นตัวสร้างเม็ดสีอย่าง สีแดงและสีชมพูในผลไม้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มักพบในมะเขือเทศ ส้มโอ และแตงโม เป็นต้น นอกจากมีคุณสมบัติหลักในการสร้างเม็ดสีแล้ว ไลโคปีนยังเป็น 1 ในสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่เรียกได้ว่าทรงพลังที่สุดเลยก็ว่าได้ และที่สำคัญ แม้จะถูกความร้อน ก็ยังคงประสิทธิภาพอยู่เหมือนเดิม

ไลโคปีน ช่วยอะไรบ้าง

ไลโคปีน ช่วยอะไรบ้าง ?

จากการเช็คว่า ไลโคปีน ช่วยอะไรบ้างของทางสเปิร์กจากเว็บแหล่งข่าวจากต่างประเทศก ไลโคปีนนั้น ประโยชน์มากมาย และผลเสียแทบจะไม่ดีเลยก็ว่าได้ และที่มีการศึกษาวิจัยอย่างยาวนานคงจะเป็นการใช้ไลโคปีนในการรักษามะเร็งต่างๆ ที่มีทั้งได้ผลจริง และ ยังมีการศึกษาที่ยังบอกว่าไม่ได้ผลอยู่ แต่ที่แน่ๆเลยคือ ไลโคปีนนั้น สามารถรักษามะเร็งต่อมลูกหมากได้ แ

ละมีการศึกษามาอย่างยาวนานเพื่อยืนยันผลนี้อีกด้วย ซึ่งนั้นก็หมายความว่าไลโคปีนช่วยลดต่อมลูกหมากโต โรคสามัญประจำผู้ชาย ในระดับนึง และ ผู้ชายที่อายุ 40+ ก็ควรทานไลโคปีนเพื่อบำรุงไม่ให้เป็นต่อมลูกหมากโต เพื่อไม่ให้ลุกลามจนอันตรายต่อระบบอื่นๆในร่างกายต่อไป

1.อาจป้องกันมะเร็งบางชนิด

มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ไลโคปีนรักษามะเร็งหลายที่ ตั้งแต่ปี 1986 เรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน ทั้งการศึกษาในสัตว์ทดลองและมนุษย์

1.1 ไลโคปีนรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

มีการศึกษาไลโคปีน ช่วยอะไรจากผู้ชายจำนวน 47,365 คน ตั้งแต่ปี 1986 ถึง 1994 โดยการให้ผู้ชายเหล่านี้บริโภคซอสมะเขือเทศ ประมาณ 2 มื้อ ต่อสัปดาห์ ผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจเพราะพบความสัมพันธ์ในการลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้
อีก 1 การศึกษาจากผู้ชายจำนวน 876 ตลอดการทดลอง ตั้งแต่ปี 1994 ถึง 2003 พบว่าสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากโตได้ถึง 18% ในผู้ชายที่บริโภคไลโคปีนในปริมาณที่มากที่สุดจากอาหารเสริม การศึกษาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ไลโคปีนช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากโตได้

1.2 ไลโคปีนรักษามะเร็งเต้านม

มีการศึกษาพบว่า การบริโภคไลโคปีนสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมได้ในสตรีวัยหมดประจำเดือน และยังมีการศึกษาการใช้อาหารเสริมที่มีไลโคปีนสกัดจากมะเขือเทศ 30 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 2 เดือน ในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่เสี่ยงมะเร็งเต้านมสูง ผลปรากฏว่า อาหารเสริมที่มีไลโคปีนลดปัจจัยการเจริญเติบโตคล้ายอินซูลินฟรี ลง 7% อีกด้วย

1.3 ไลโคปีนรักษามะเร็งปอด

1 ใน สาเหตุการเสียชีวิตหลักๆของโลกคือ มะเร็งปอด และส่วนใหญ่ก็พบว่าเกี่ยวข้องกับการใช้ยาสูบ ดังนั้นมะเร็งปอดจึงเป็นเรื่องที่ถูกให้ความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการใช้แคโรทีนอยด์รักษามะเร็งปอด การศึกษานี้ทำให้เห็นว่า ในผู้ที่บริโภคไลโคปีนสูง มีโอกาสลดความเสี่ยงของมะเร็งปอดได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าบริโภคไลโคปีนในปริมาณที่น้อย แทบจะไม่พบการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย

1.4 ไลโคปีนรักษามะเร็งลำไส้

มีการศึกษาจากอาสาสมัคร 3,182 คน พบว่า การบริโภคไลโคปีนที่สูง มีความสัมพันธ์ในการลดความเสี่ยงของมมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้ แต่อย่างไรก็ดี มีการศึกษาแบบ Case-Control โดย Kune & Watson (2006) ซึ่งเป็นการศึกษา 11 รายการ โดยวิเคราะห์เมดาต้า พบว่าการบริโภคไลโคปีนไม่เกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่อย่างใด

1.5 ไลโคปีนรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร

มีการศึกษาในผู้ชายที่สูบบุหรี่ 29,000 ราย ในเซี่ยงไฮ้ พบว่าการบริโภคไลโคปีนสูง มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ แต่อย่างไรก็ตามมีการศึกษาจากเนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น สวีเดน และ สเปน พบว่าการการบริโภคไลโคปีน หรือ ไลโคปีนในระดับพลาสม่า ไม่มีความสัมพันธ์ในการลดความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารแต่อย่างใด

1.6 ไลโคปีนรักษามะเร็งตับอ่อน

การศึกษาการใช้ไลโคปีนในการรักษามะเร็งตับอ่อนนั้นมีเพียงไม่กี่ชิ้นแต่จากการศึกษาในกลุ่มประชากรควบคุมในแคนนาดา 4,721 ราย พบว่า การบริโภคไลโคปีนในอาหารที่เยอะขึ้น มีส่วนลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งตับอ่อนในผู้ชายได้

1.7 ไลโคปีนรักษามะเร็งรังไข่

มีการศึกษาในสตรีก่อนและหลังหมดประจำเดือน เกี่ยวกับการบริโภคไลโคปีนเพื่อรักษามะเร็งรังไข่ จากกลุ่มควบคุมหรือ Case-Control 516 ราย โดย Cramer et al พบว่า การบริโภคไลโคปีนรักษามะเร็งรังไข่มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญ และยังมีอีก 1 การศึกษาในผู้หญิงเกาหลี 135 ราย โดย Jeong et al พบว่า การบริโภคไลโคปีนมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งรังไข่ได้

2.ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

มีการศึกษาจากสตรี 38,445 คน พบว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มาจากมะเขือเทศสูง มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ และนอกจากนี้ยังมีการทดลองกับอาสาสมัครอีก 24 ราย โดยให้ทานมะเขือเทศ 40 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลาทั้งหมด 6 สัปดาห์ พบว่า ระดับไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอล LDL (ไขมันเลว) ลดลง และคอเลสเตอรอล HDL (ไขมันดี) เพิ่มขึ้น และยังมีการศึกษาในชายและหญิงที่มีสุขภาพดี 18 คน ที่บริโภคเครื่องดื่มช่วยลดความไวของเศษส่ว่นพลาสมาในเลือด พบว่าระดับ HDL (ไขมันดี) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็ยังมีการศึกษาจาก Paterson et al. ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่เต็มไปด้วยแคโรทีนอยด์ ว่าไม่มีผลต่อสารต้านอนุมูลอิสระในพลาสมาหรือความเครียดออกซิเดชัน

3.อาจป้องกันแดดเผา

มีการศึกษาขนาดเล็ก โดยใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยให้ผู้เข้าร่วมการศึกษาได้สัมผัสกับรังสียูวี ก่อน และ หลัง บริโภคไลโคปีน 16 มก. และมีการใช้ยาหลอกกับอีกกลุ่มทดลองอีกด้วย พบว่า ในกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดสอบที่ได้รับไลโคปีนจริงๆ มีปฏิกิริยาทางผิวหนังที่รุนแรงน้อยกว่ากลุ่มที่ให้ยาหลอก และผลจากการบริโภคไลโคปีนทุกวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ไม่ว่าจะจากอาหารเสริม หรือ อาหารปกติ มีส่วนช่วยให้รอยแดงจากการโดนรังสี UV ได้ 40-50% เลยทีเดียว และยังพบว่าในผู้ทดลองที่บริโภคไลโคปีนจากอาหารเสริม มีประสิทธิภาพมากกว่าการบริโภคไลโคปีนเพียงอย่างเดียว แต่ถึงแม้ว่าไลโคปีนจะช่วยป้องกันและรักษาผิวคุณจากแสงแดดได้ แต่ก็ใช่ว่าจะใช้ทดแทนครีมกันแดดได้ ฉนั้นควรใช้ครีมกันแดดร่วมกับการทานมะเขือเทศดีกว่า

4.อาจบำรุงสายตา

โลโคปีนอาจมีส่วนช่วยในการป้องกันและชะลอการก่อตัวของต้อกระจกได้ รวมไปถึงลดควาเมสี่ยงของจอประสาทตาได้อีกด้วย

5.อาจลดอาการปวด

โลโคปีนอาจมีส่วนช่วยในการลดความเจ็บปวดที่เกิดจากความเสียหายทางเส้นประสาทและเนื้อเยื่อได้

6.อาจป้องกันสมอง

ไลโคปีนมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ค่อนข้างดี จึงอาจช่วยห้องกการชัก หรือ ความจำเสื่อมได้

7.อาจบำรุงกระดูก

โลโคปีนมีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจมีส่วนช่วยชะลอการตายของเซลล์กระดูก และช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงได้

8.อาจรักษาโรคหอบหืด

มีการศึกษาแบบสุ่มในผู้ใหญ่ที่เป็นหอบหืด 17 คน เป็นเวลา 7 วัน พบว่าการบริโภคไลโคปีนอาจมีส่วนช่วยปรับปรุงการทำงานของปอด ในคนที่เป็นโรคหอบหืดได้

9.อาจรักษาเหงือกอักเสบ

มีการศึกษาทางคลิกนิกกับอาสาสมัคร 20 คน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าเหงือกอักเสบมีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ผลไม้ที่มี ไลโคปีน มีอะไรบ้าง?

หลังจาากรู้ว่า ไลโคปีน ช่วยอะไรบ้างแล้วนั้น เรามาดูผลที่มีไลโคปีนบ้าง ผลไม้ตามธรรมชาติแทบจะทั้งหมดที่มีสีแดงหรือชมพู เน้นว่าสีจากธรรมชาติ ล้วนมีไลโคปีนอยู่แล้ว แต่จะมีปริมาณที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภท โดยอันดับต่อไปนี้ จะเป็นผลไม้ที่มีไลโคปีนเยอะที่สุดในปริมาณผลไม้ 100 กรัม เรียงจากเยอะไปหาน้อยที่สุดจาก 1 ถึง 10 ซึ่งอันดับ 1 จะมีปริมาณไลโคปีนต่อ 100 กรัม เยอะที่สุด

  1. ฝรั่ง เนื้อแดง
  2. มะเขือเทศ
  3. แตงโม
  4. ส้มโอ
  5. มะละกอ
  6. พรอกหยวกแดง
  7. ลูกพลับ
  8. หน่อไม้ฝรั่ง
  9. กระหล่ำปลีแดง
  10. มะม่วง

ไลโคปีน กินตอนไหนดี ?

ยังไม่มีช่วงเวลาที่แนะนำให้ทานไลโคปีน เพื่อที่จะรับประโยชน์สูงสุด และยังไม่มีข้อมูลมากพอที่จะบอกว่าไม่ควรทานไลโคปีนมากขนาดไหน เพราะไลโคปีนไม่ค่อยมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย แต่ยิ่งผลไม้ที่มีไรโคปีนสุกเท่าไหร่ ไลโคปีนก็มากเท่านั้น และที่สำคัญ ไลโคปีนในอาหารเสริมจะมีมากที่สุด แนะนำให้เพิ่มผลไม้ที่มีไลโคปีนหรืออาหารเสริมที่มีไรโคปีนในแต่ละมื้ออาหารจะดีที่สุด

การทานมะเขือเทศให้ได้ไลโคปีนสูงสุด

  1. ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศเข้มข้น
  2. มะเขือเทศผง
  3. ซอสมะเขือเทศ
  4. น้ำมะเขือเทศ
  5. ซุปมะเขือเทศเข้มข้น
  6. มะเขือเทศปรุงสุก
  7. มะเขือเทศสด

กินไลโคปีน มากเกินไป มีผลข้างเคียงไหม ?

โดยรวมแล้วไลโคปีนไม่มีผลข้างเคียงแต่อย่างใด แต่ถึงแม้จะบอกว่าไม่มีความอันตราย แต่ก็ยังมีกรณีที่เกิดขึ้นจากการทานอาหารที่อุดมไปด้วยไลโคปีนในปริมาณมากๆ แต่หาได้ยากมากกับกรณีแบบนี้ ย้ำอีกทีว่าหาได้ยากมากๆ ซึ่งผลจากการทานในปริมาณมากๆนี้ ส่งผลแค่การเปลี่ยนของสีผิวเพียงเท่านั้น เรียกว่าไลโคพีโนเดเมีย ซึ่งผลข้างเคียงที่ว่านี้เกิดจากการดื่มน้ำมะเขือเทศ 2 ลิตร ติดต่อกันทุกวัน หลายปี

อาหารเสริมที่มีไลโคปีน อาจจะไม่เหมาะกับผู้ใช้ยาบางชนิด และ สตรีมีครรภ์ ถ้าทานแล้วมีอาการไม่ปกติ ควรเลิกทานทันที

ไลโคปีนในอาหารเสริม อันตรายไหม ?

แม้ว่าไลโคปีนจะไม่อันตรายแม้จะทานในปริมาณมากๆ แต่ว่า เมื่อนำมาทำเป็นอาหารเสริมแล้ว ไลโคปีนอาจส่งผลต่อยาบางชนิดได้ เช่น ความดันโลหิต เป็นต้น และยังมีการศึกษขนาดเล็กจากการทานไลโคปีน 2 มิลลิกรัมจากอาหารเสริมทุกวันในระหว่างที่ตั้งครรภ์อยู่ พบว่า อาจเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด หรือ น้ำหนักแรกเกิดต่ำ ถ้าจะเลือกทานอาหารเสริมที่มีไลโคปีน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนจะดีที่สุด

สรุป

จบกันไปแล้วกับบทความ ไลโคปีน ช่วยอะไรบ้างหลักๆแล้วไลโคปีนมีสารต้านอนุมูลอิสระ และได้ทำการศึกษาและวิจัยมาอย่างยาวนาน แต่บางอย่างก็ยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างแท้จริงมาสามารถรักษาโรคเหล่านั้นได้ แต่ที่แน่ๆ ไลโคปีนมีส่วนช่วยทำรักษามะเร็งต่อมลูกหมากได้ และเห็นผลจริง และนั่นรวมถึงการรักษาต่อมลูกหมากโตด้วย สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าต่อมลูกหมากโต คืออะไร คลิกเลย โดยเฉพาะคุณผู้ชาย เพราะโรคนี้เกิดได้แค่ในผู้ชายเท่านั้น 

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *