ฉี่เป็นฟอง แบบไหนอันตราย 6 แบบนี้คุณเข้าข่ายแบบไหน?

ฉี่เป็นฟอง แบบไหนอันตราย 6 แบบนี้คุณเข้าข่ายแบบไหน

สารบัญเนื้อหา

เรื่องฉี่ๆ ที่มักจะบอกอะไรมากกว่าของเสียที่ออกจากร่างกาย เพราะว่าฉี่ หรือปัสสาวะนั้น เป็นของเหลวที่ร่างกายขับถ่ายออกมาโดยไต ผ่านกระบวนการกรองจากเลือด และถูกขับออกมาจากทางท่อปัสสาวะ หรือง่ายๆคือ ฉี่นั้น คือน้ำที่ที่นำของเสียจากร่างกายออกมานั่นเอง (ฉี่ประกอบไปด้วยน้ำ 95% ยูเรีย 2.5% และสารอื่นๆอีก 2.5%)

ฉี่เป็นฟอง แบบไหนอันตราย 6 แบบนี้คุณเข้าข่ายแบบไหน-H2

ฉี่เป็นฟอง แบบไหนอันตราย ?

เรามักจะได้ยินบ่อยๆว่าฉี่เป็นฟอง คือกำลังป่วย แต่รู้หรือไม่ว่า จริงๆแล้วฉี่เป็นฟอง ไม่ได้กำลังป่วยอยู่ คนเราสามารถที่จะฉี่เป็นฟองได้เป็นเรื่องธรรมดามากๆ แล้วแบบนี้ฉี่เป็นฟอง แบบไหนอันตราย ล่ะ ? เดี๋ยววันนี้ทีมงานสเปิร์ก จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับเรื่องนี้กับ แต่ก่อนอื่น ใครที่มีปัญหาเรื่องฉี่ เราได้ทำบทความไว้ก่อนแล้ว จิ้มเบาๆตามไปอ่านได้ที่ Tag ปัสสาวะ หรือถ้าในเว็บเรายังไม่มี คอมเม้นไว้ด้านล่างได้เลย แล้วเดี๋ยวทีมงานเราจะรวบรวมข้อมูลมาให้อ่านเอง เพื่อไม่ให้เสียเวลาไปมากกว่านี้ เราไปดูกันเลยดีกว่า ว่าฉี่เป็นฟอง อันตราย กับ ไม่อันตราย สังเกตยังไง

1.ฟองจากการฉี่แรงและเร็ว

ฟองในปัสสาวะที่เกิดจากการฉี่แรงและเร็ว เกิดขึ้นจากการที่น้ำปัสสาวะที่มีแรงดันสูง กระแทกกับผิวน้ำในโถส้วม ทำให้เกิดฟองอากาศขึ้น ฟองอากาศเหล่านี้คล้ายกับฟองสบู่ ซึ่งมักเกิดขึ้นชั่วคราวและสลายตัวไปเองภายในไม่กี่วินาที

วิธีสังเกต

    • ฟองจะบางๆเล็กๆและแตกตัวเร็ว

2.ฟองจากการขาดน้ำ

เมื่อร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ ปัสสาวะจะเข้มข้นขึ้น มีสีเหลืองจัด และเกิดฟองได้ง่าย ฟองเหล่านี้เกิดจากก๊าซไนโตรเจนที่สะสมอยู่ในปัสสาวะ

เมื่อปัสสาวะเข้มข้น ก๊าซไนโตรเจนจะจับตัวกันเป็นฟองอากาศขนาดเล็ก ฟองเหล่านี้มักแตกตัวเร็ว

อย่างไรก็ตาม ฟองในปัสสาวะอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การขับโปรตีน ผลึก หรือตะกอนในปัสสาวะ

วิธีสังเกต

    • ฟองเล็กแตกตัวช้านิดหน่อย
    • มีสีที่เหลืองเข้ม

3.ฟองจากการกินอาหารบางชนิด

ปกติแล้ว ปัสสาวะของเราจะมีฟองอยู่บ้างเล็กน้อย เกิดจากแรงดันของน้ำปัสสาวะที่กระทบกับอากาศ แต่บางครั้ง ฟองในปัสสาวะอาจมีมากกว่าปกติ สาเหตุหนึ่งมาจากการกินอาหารบางชนิด อาหารเหล่านี้มีสารประกอบที่เมื่อถูกย่อยสลายจะเปลี่ยนเป็นก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซเหล่านี้เมื่อรวมกับแรงดันของน้ำปัสสาวะ จะทำให้เกิดฟองมากขึ้น

อาหารที่อาจทำให้ปัสสาวะมีฟองมากขึ้น ได้แก่

    • เนื้อสัตว์
    • ถั่ว
    • เต้าหู้
    • ผัก
    • ผลไม้
    • ธัญพืช
    • น้ำอัดลม
    • ขนมหวาน

วิธีสังเกต

    • ฟองเล็กและเยอะแตกตัวเร็ว 
    • อาจมีสี เช่นการกินแก้วมังกรแล้วฉี่แดง

4.ฟองจากโปรตีนในปัสสาวะสูง

ปกติแล้ว ปัสสาวะของคนเราจะมีโปรตีนอยู่เพียงเล็กน้อย แต่หากพบโปรตีนในปัสสาวะสูง แสดงว่าอาจมีปัญหาเกี่ยวกับไต หรือระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากปัสสาวะที่มีฟองมากกว่าปกติ

ฟองในปัสสาวะเกิดจากโปรตีนที่ปนเปื้อนออกมาจากไต แทนที่จะถูกกรองกลับสู่กระแสเลือด โปรตีนเหล่านี้จะไปจับกับอากาศในปัสสาวะ ทำให้เกิดฟองคล้ายกับฟองสบู่

ปริมาณฟองในปัสสาวะ ไม่ได้บ่งบอกถึงความรุนแรงของภาวะโปรตีนสูงเสมอไป บางครั้งปัสสาวะที่มีฟองน้อย อาจจะมีโปรตีนสูงกว่าปัสสาวะที่มีฟองเยอะ

วิธีสังเกต

    • ฟองจะหนากว่าปกติ ไม่แตกตัวง่ายๆ 
    • ฟองอาจมีสีขาวคล้ายกับฟองนมหรือขุ่น คล้ายน้ำชาก็เป็นได้
    • ฟองน้อย หรือ เยอะ ไม่เกี่ยวกับปริมาณโปรตีน แค่ หนาก็เสี่ยงแล้ว

5.ฟองจากเบาหวาน

ปัสสาวะเป็นฟอง อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของร่างกาย หนึ่งในนั้นคือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตหรือใช้งานฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้น้ำตาลสะสมในเลือดแทนที่จะถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน

เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงเกินค่าปกติ จะเริ่มแสดงอาการต่างๆ เช่น รู้สึกกระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลง

วิธีสังเกต

    • ฟองหนา ไม่แตกตัวง่ายๆ 
    • มีสีขาวขุ่นหรือคล้ายฟองนมหรือชา 
    • กลิ่นแรง

6.ฟองจากปัญหาทางไต

ปัสสาวะเป็นฟอง อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือไตมีปัญหา ซึ่งปกติแล้ว ไตจะทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด และขับออกทางปัสสาวะ  แต่หากไตทำงานผิดปกติ โปรตีนซึ่งปกติไม่ควรอยู่ในปัสสาวะ อาจรั่วไหลออกมา  ทำให้ปัสสาวะเป็นฟอง

ฟองที่เกิดขึ้นจากปัสสาวะ  มักแตกต่างจากฟองสบู่ทั่วไป  ฟองจากปัสสาวะจะอยู่ได้นาน  และแตกตัวช้า

วิธีสังเกต

    • ฟองหนา ไม่แตกตัวง่ายๆ 
    • ฉี่มีสีเข้ม
    • ฉี่บ่อย โดยเฉพาะกลางคืน
    • ฉี่มีกลิ่นแรง
    • บวมตามใบหน้า มือ เท้า
    • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
    • คลื่นไส้ อาเจียน
    • เบื่ออาหาร

สรุป

สรุปแล้วฉี่เป็นฟอง แบบไหนอันตราย ? คำตอบคือ ฉี่เป็นฟองที่แตกตัวช้ามากๆ และอาจมีฟองหนา หรือ ใหญ่กว่าปกติ เพราะฉี่มีความตึงผิวมากกว่าปกติ การฉี่เป็นฟองเยอะทั่วๆไป แทบจะหายไปทันที ไม่ได้เป็นฟองนานมาก ฉนั้นใครที่เห็นฉี่ตัวเองเป็นฟองๆ แล้วตกใจ กลัวตัวเองเป็นอะไร ให้สังเกตุเบื้องต้นดูก่อนว่าตัวเองฉี่แรงเกินไปหรือเปล่า กินน้ำน้อยหรือเปล่า แต่ถ้าสังเกตุแล้วฟองหนา และ เยอะ แตกตัวช้า แถมช่วงนี้ยังรู้สึกป่วยออดๆแอดๆ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และเข้ารับการรักษาในทันที ถ้าโชคดีอาจจะยังทำให้หายได้ แต่ถ้าเป็นมานานแล้ว บางอย่างอาจต้องดูแลตัวเองไปตลอดชีวิต

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *