สรุป เรื่องต่อมลูกหมากโต 10 เรื่องที่คนค้นหามากที่สุดใน 2564

สรุป เรื่องต่อมลูกหมากโต 10 เรื่องที่มีคนค้นหามากที่สุดในปี 2564

สารบัญเนื้อหา

ต่อมลูกหมากโต ภาวะที่อวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ชื่อ “ต่อมลูกหมาก” เกิดการขยายตัวใหญ่ขึ้นจนไปเบียดบัง “ท่อปัสสาวะ” ส่งผลให้ทอปัสสาวะตีบและขนาดเล็กลง จนทำให้ระบบขับถ่ายมีปัญหา ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะไม่ออก เหมือนปกติ ต้องใช้แรงอย่างมาก อ่านต่อ

สรุป เรื่องต่อมลูกหมากโต 10 เรื่อง

สรุป เรื่องต่อมลูกหมากโต 10 เรื่องที่มีคนค้นหามากที่สุดในปี 2564

สรุป เรื่องต่อมลูกหมากโต 10 เรื่องที่มีคนค้นหามากที่ในสุดในปี 2564  ต่อมลูกหมากโต โรคเสื่อมที่พบได้ในผู้ชายทุกคน ทำให้ปัสสาวะยากขึ้น และอัตราการเป็นต่อมลูกหมากโตก็เพิ่มขึ้นประมาณ ครึ่งนึงของประชากรผู้ชาย ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สูงสุดถึง 80% ในอายุ 60-70 ปี และจะยิ่งมีโอกาสเป็นต่อมลูกหมากโตสูงมากยิ่งขึ้นถ้ามีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ได้มีการดูแลตัวเอง วันนี้สเปิร์กจะพาทุกคนไปดูสรุปคุณแน่ใจไหมว่าตัวเองเป็นโรคนี้ เพื่อไม่ให้เสียเวลา ไปดูกันเลยดีกว่า

10.ต่อมลูกหมากโตอาการเป็นยังไง

เรื่องที่มีการค้นหาอันดับ 10 มีผลจากเว็บไซต์เว็บค้นหาข้อมูลต่างประเทศบอกว่า ในประเทศไทยที่การค้นหาเรื่อง ต่อมลูกหมากโตอาการเป็นแบบไหน อยู่พอสมควร แล้วคุณละ มีอาการเหล่านี้หรือไม่

  • รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย จนผิดปกติ
  • ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
  • ปัสสาวะยาก ต้องใช้แรงเบ่ง
  • ปัสสาวะไม่พุ่ง กระปริบกระปรอย
  • ปัสสาวะเล็ด ควบคุมการไหลไม่ได้
  • ปัสสาวะเสร็จแล้วรู้สึกไม่สุด
  • ปัสสาวะแล้วแสบ มีเลือดติด

อาการเหล่านี้ผู้ป่วยมักพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ใช้ชีวิตประจำวันยาก” เพราะต้องมีการเข้าห้องน้ำตลอด นอนตอนกลางคืนก็ต้องตื่นลุกบ่อยทำให้พักผ่อนไม่พอ อ่านต่อที่บทความ ต่อมลูกหมากโต คืออะไร

9.ต่อมลูกหมากโตสมุนไพรรักษา

มีหลายตัวเลือกในการที่จะรักษาต่อมลูกหมากโต ทั้งยา สมุนไพร อาหารการกิน หรือแม้กระทั้งการผ่าตัด แต่คุณควรรู้ไว้ก่อนว่า ต่อมลูกหมากโต ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงแค่บรรเทาอาการให้ดีขึ้นและเป็นปกติก็เพียงเท่านั้น ฉนั้นจะเลือกทางไหนก็ควรศึกษาและปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน แต่สำหรับหลายๆที่คนที่มองเห็นสรรพคุณของสมุนไพรนั้น มีมากมาย เพราะสมุนไพรถือว่าเป็นยารักษาโรคที่คนใช้มาแต่โบราณแล้ว แต่การกินสมุนไพรเยอะเกินไปก็ไม่ดีนะ แล้วสมุนไพรรักษาต่อมลูกหมากมีอะไรบ้างละ

  1. ซอว์ พาลเมตโต(ปาล์มใบเลื่อย )
  2. สารสกัดจากละอองเกสรหญ้าไรย์
  3. ตําแย
  4. ถั่งเช่า

8.ต่อมลูกหมากโตอันตรายไหม

ต่อมลูกหมากโตเป็นโรคเรื้อรัง และถือว่าเป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่ใช่ระเร็ง เลยไม่ถือว่าร้ายแรง แต่จะทำให้การใช้ชีวิตประจำวันลำบากขึ้น กระทบกับการนอนกับปัญหาสุขภาพอื่นๆที่ตามมา

กรณีที่อาการรุนแรงมากจนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมา ถือว่าอันตราย และต้องได้รับการตรวจและรักษาอย่างถูกต้อง ก่อนจะลุกลามไปเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก อ่านเพิ่มเติม

7.ต่อมลูกหมากโตรักษาหายไหม

ต่อมลูกหมาก โตไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และมีโอกาสกลับมาเป็นอีกหากไม่ดูแล โดยจากการสำรวจพบว่า ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด 75 คน จาก 100 คน มีอาการป่วยลดลงจริง สามารถใช้ชีวิตประจำวัน ได้ง่ายมากขึ้น แต่ไม่หายขาด ยังมีอาการอยู่เล็กน้อย และยังมีผลข้างเคียงจากการผ่าตัดอีกด้วย อ่านเพิ่มเติม

6.ต่อมลูกหมากโตพยาธิสภาพ

เมื่อต่อมลูกหมากถูดตัดชิ้นเนื้อตัวอย่าง เพื่อนำมาศึกษาผ่านการส่องกล้องจุลทรรศน์ โดยแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์มาหลายปี จะถูกเรียกว่า พยาธิวิทยา และนักพยาธิวิทยาจะส่งรายงานผลที่ได้จากตัวอย่างที่ถูกตัดไป ให้แพทย์เพื่อเพิ่มในข้อมูลรายงานสุขภาพ ซึ่ง ต่อมลูกหมากโตพยาธิสภาพ ก็คือภาษาทางการแพทย์ที่เป็นการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากของคุณไปตรวจนั้นเอง

5.ต่อมลูกหมากโตสาเหตุ

มีงานวิจัยพบว่า เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของอายุ เพราะไม่พบว่าคนมีผู้ที่อายุน้อยเป็นโรคต่อมลูกหมาก โต อีกทั้งยังมีข้อสันนิฐานว่า เกิดจากการไม่สมดุลกันระหว่างฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) และฮอร์โมนส์เพศหญิง (Estogen) เมื่อฮอร์โมนส์เพศชายมีน้อยกว่าฮอร์โมนส์เพศหญิง จะทำให้ต่อมลูกหมากเกิดการขยายตัวขึ้นนั่นเอง อ่านเพิ่มเติม
ต่อมลูกหมากโต คืออะไร? ทำไมผู้ชายทุกคนถึงเสี่ยงที่จะเป็น

4.โรคต่อมลูกหมากโตคืออะไร

ภาวะที่อวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ชื่อ “ต่อมลูกหมาก” เกิดการขยายตัวใหญ่ขึ้นจนไปเบียดบัง “ท่อปัสสาวะ” ส่งผลให้ท่อปัสสาวะตีบและมีขนาดเล็กลง จนทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะไม่ออก ไม่พุ่ง รู้สึกว่าต้องใช้แรงเบ่ง แถมเบ่งยาก หากอาการหนักมากอาจมีอาการปัสสาวะเล็ดและปัสสาวะเป็นเลือดด้วย โดยโรคนี้เกิดขึ้นแต่กับผู้ชายเท่านั้น โรค ต่อมลูกหมาก โต เป็นโรคสามัญประจำเพศชาย เพราะการสำรวจพบว่า ผู้ชายวัย 40 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูง 30% และมีความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆถึง 80% จนถึงอายุ 60และ70 ปี อัตราเสี่ยงอาจเพิ่มมากขึ้นหากมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องร่วมด้วย อ่านเพิ่มเติม

3.ต่อมลูกหมากหน้าที่อะไร

ต่อมลูกหมากมีหน้าที่สำคัญในการผลิตน้ำเมือกและน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ ซึ่งของเหลว 30% ของน้ำอสุจิถูกผลิตจากต่อมลูกหมาก ซึ่งจะทำให้อสุจิเดินทางและมีชีวิตรอดอยู่ได้นานมากขึ้น อ่านเพิ่มเติม
อาหารที่ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต ไม่ควรกิน

2.ต่อมลูกหมากโตห้ามกินอะไร

อาหารนั้นเป็นถือว่าเป็นยาจากธรรมชาติ ว่ากันว่าอาหารนั้นสามารถรักษาได้ทุกโรคเลย ไม่เว้นแม้แต่โรคทางเดินปัสสาวะ อยู่ที่เราจะเลือกกินให้ถูกวิธีดีต่อโรคหรือเปล่า แล้ว โรคต่อมลูกหมากโตห้ามกินอะไรบ้างละ

  • เนื้อแดง
  • นม
  • โซเดียม
  • แอลกอฮอล์

อาหารนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ควรเลือกกินให้ถูกและประมาณไม่เยอะจนเกินไปจะดีที่สุด อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ อาหารต้องห้าม และ อาหารที่ควรกิน

1.ยาต่อมลูกหมากโต

ในกรณีที่เป็นต่อมลูกหมากแล้วอาการร้ายแรง หรือ อาการไม่ร้ายแรง แต่ต้องการกินยาเพื่อรักษานั้น หมอจะให้ยา Proscar (Finasteride) เป็นยาที่ช่วยลดขนาดของต่อมลูกหมากให้เล็กลง หรือในบางครั้งอาจจะใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อให้ต่อมลูกหมากอ่อนตัวลง อย่าง (alpha-blockers) แต่ถ้าในกรณที่เป็นมากๆ จนกระทบชีวิตประจำวัน แพทย์อาจจะจัดยาเหล่านี้ให้

กลุ่มยาปิดกั้นแอลฟา (alpha-blockers) ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อของต่อมลูกหมากและหูรูดที่คอกระเพราะปัสสาวะ เช่น ยาด๊อกซาโซซิน (Doxazosin) และ ยาพราโซซิน (Prazosin)

กลุ่มยายับยั้งเอนไซม์แอลฟารีดักเตส (Alpha Reductase Inhibitors) ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ยับยั้งสารที่เป็นตัวการกระตุ้นให้เกิดต่อมลูกหมากโต และจะทำให้ต่อมลูกหมากลดลงประมาณ 30%

ข้อเสียของการทานยาเพื่อรักษาคือ ต่อมลูกหมากโตนั้นเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งการทานยาจะเป็นการทานเป็นระยะเวลานาน ซึ่งการทานยานานๆนั้นไม่ดีต่อไตแน่นอน ฉนั้นควรเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันและการกินจะดีกว่า หมั่นดูแลตัวเองเพื่อให้สุขภาพดีอยู่เสมอ จะได้ห่างไกลยา ห่างไกลโรคร้าย

เป็นยังไงกันบ้างกับ สรุป เรื่องต่อมลูกหมากโต 10 เรื่องที่มีคนค้นหามากที่สุดในปี 2564 ที่ผ่านมา แล้วคุณละได้ค้นหาคำเหล่านี้บ้างหรือไม่ ถ้าไม่ก็ถือว่าดีแล้วที่คุณไม่ได้เป็น แต่ถ้ามีค้นหาคำเหล่านี้บ้าง คุณก็ควรที่จะดูแลตัวเองได้แล้ว เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตปกติ ไม่ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยๆ กระทบการใช้ชีวิตและการนอน เสียสุขภาพเข้าไปใหญ่

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *