เรามักจะได้ยินว่า การดื่มเหล้า ดื่มเบียร์ จะทำให้ตับแข็ง เสียสุขภาพ ทั้งยังเพิ่มน้ำหนักอีกด้วย และหลายๆครั้ง เราจะได้เห็น ข่าว ป่วยยจากการดื่มเหล้า ดื่มเบียร์
แต่รู้หรือไม่ว่า ของกินเกือบทุกอย่าง ถ้าทานให้เป็น ล้วนแล้วแต่เกิดประโยชน์ แต่เมื่อไหร่ที่มากเกินไป อาหารเหล่านั้นล้วนเกิดโทษ แม้แต่อาหารที่ดีที่สุด ก็ไม่เคยส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่นการทานหอยนางรม เพื่อเพิ่ม Zinc เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ถ้าทานมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจ และถ้าทาน Zinc เยอะเกินไปติดต่อกัน Zinc ก็จะทำให้การดูดซึมทองแดงและธาตุเหล็ก ลดลง ทำให้เกิดโลหิตจาง และปัญหาอื่นๆตามมา
9 ประโยชน์ ของเบียร์ ที่วิทยาศาสตร์ยืนยันแล้วว่าดี (ถ้าดื่มให้ถูก)
9 ประโยชน์ ของเบียร์ต่อไปนี้ ล้วนแล้วแต่ได้รับการศึกษาและตีพิมพ์ แล้วทั้งสิ้น การดื่มเบียร์ วันละ 1-2 แก้วสำหรับผู้ชาย และ 1 แก้วสำหรับผู้หญิง นั้นถือว่าดีต่อสุขภาพในหลายๆด้าน แต่เมื่อเริ่มดื่มมากกว่า 2 แก้วขึ้นไป
จากประโยชน์ จะ กลายเป็น ผลเสียทันที และบางคนที่มีความไวต่อแอลกฮอล์ หรือ แพ้ ควรดื่มน้อยกว่าคนทั่วไป หรือ เลี่ยงได้จะดีที่สุด
รู้หรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนยอมรับว่า เบียร์ เทียบเท่าอาหาร มากกว่าจะเป็นเครื่องดื่ม หรือจะเรียกว่า ขนมปังเหลวก็ได้
1.อาจดีต่อหัวใจ
มีการศึกษาเบื้องต้นที่นําเสนอในการประชุมทางวิทยาศาสตร์ของ American Heart Association 2016 จากผู้เข้าร่วม 80,000 คน เป็นเวลา 6 ปี เกี่ยวกับประโยชน์ ของเบียร์พบว่าคนที่ดื่มเบียร์ปานกลาง ทำให้ไขมันดี (HDL) ลดลงช้ากว่าปกติ ซึ่งถ้าไขมันดี (HDL) ในร่างกายมีปริมาณมากพอ และยังลดดลงช้า จะยิ่งทำให้ไขมันดี (HDL) นำไขมันเลว (LDL) ในหลอดเลือดไปทำลายที่ตับได้ดีขึ้น ต่อเนื่องมากขึ้น ทำให้ไขมันเลว (LDL) ที่เกาะตัวตามหลอดเลือดลดลง ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น (3)
นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ดื่มเบียร์ปานกลางในระยะยาว มีอัตราการเสียชีวิตจากปัญหาทางหัวใจน้อยลง 42% (2,3)
2.อาจต้านมะเร็ง
มีการศึกษาที่พบว่า ฟลาโวนอยด์ในเบียร์เป็นสารยับยั้งมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ และความเข้มข้นของนาโนโมลาร์ ยังช่วยต้านการอักเสบร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย (3)
และยังมีการศึกษาในหนูที่พบว่า เบียร์อาจมีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกันต้านเนื้องอกและมะเร็ง เมื่อได้รับในปริมาณที่พอเหมาะ แต่เมื่อได้รับมากเกินไปเบียร์อาจกระตุ้นให้เนื้องอกและมะเร็งลุกลามมากกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ติดเบียร์ส่วนมาก มีปัญหากับระบบภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง และการการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อรักษามะเร็งยังขาดการวิจัยที่กว้างขวาง เพื่อที่จะหาผลที่แน่ชัดกว่านี้ (4)
3.ต้านการอักเสบ
มีการศึกษา Capece et al. (2018) ได้ประเมิณโปรไบโอติกสายพันธุ์ Saccharomyces cerevisiae var.boulardii เพิ่มลงในการหมักเบียร์ พบว่า สารต้านอนุมูลอิสระในเบียร์เพิ่มขึ้น 135.68% เมื่อเทียบกับการหมักเบียร์ด้วยยีสต์แบบเดี่ยว
ทำให้การดื่มเบียร์ที่หมักด้วย โปรไบโอติกสายพันธุ์นี้ อาจมีแนวโน้มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าการหมักเบียร์แบบอื่นๆ (3)
4.อาจลดระดับน้ำตาลในเลือด
มีการศึกษาหลายชิ้นที่ระบุว่าการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางอาจมีส่วนช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางอาจลดการดื้อต่ออินซูลิน ที่เป็นสาเหตุหลักๆของคนที่เป็นเบาหวาน
และยังมีการศึกษาในผู้เข้าร่วมมากว่า 70,500 คน ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง พบว่าผู้ชายมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานลดลง 43% และผู้หญิงลดลง 58% (5)
อย่างไรก็ตาม การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้
5.อาจป้องกันสมอง
การดื่มเบียร์อาจมีส่วนช่วยลดประสิทธิภาพของอลูมิเนียม ช่วยบรรเทาความไม่สมดุลของแร่ธาตุในสมอง และด้วยผลการต้านอนุมูลอิสระ จึงส่งผลให้เบียร์อาจมีส่วนช่วยลดภาวะต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับสมองได้ (6)
6.อาจป้องกันและบำรุงช่องปาก
การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Biomedicine และเทคโนโลยีชีวภาพ ปี 2012 ได้ค้นพบว่า การดื่มเบียร์อาจมีส่วนช่วยลดการก่อตัวของแบคทีเรียในปากและตามซอกฟันได้ โดยการดื่มเบียร์จะป้องกันไม่ให้แบคทีเรียก่อตัวและเติบโตในช่องปากได้
นอกจากนี้นักวิจัยยังพบอีกว่าแม้แต่สารสกัดที่อ่อนที่สุดจากเบียร์ ก็ยังปิดกั้นการสื่อสารระหว่างแบคทีเรียและชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากและซอกฟันได้อีกด้วย (7)
7.อาจบำรุงกระดูก
มีการศึกษาที่พบว่าเบียร์ที่ทำจากข้าวบาร์เลย์พบว่า การดื่มเบียร์ในระดับปานกลาง อาจมีส่วนเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกผู้ชาย เนื่องจากในข้าวบาร์เลย์มีสารที่ชื่อว่า ซิลิคอน ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับการสร้างกระดูก (8)
8.อาจบำรุงผิว
มีการศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ ของเบียร์ที่พบว่า เบียร์ปานกลางอาจช่วยทำให้คอลลาเจนและอีลาสตินมีความสเถียรมากขึ้น เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ป้องกันริ้วรอยก่อนวัยของผิว และยีสต์ที่พบในเบียร์ยังอุดมไปด้วยวิตามินบี ที่มีส่วนช่วยบำรุงผิวอีกด้วย
แต่ในทางตรงกันการดื่มเบียร์มากเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผิว และทำให้หน้าแก่เร็วขึ้น (10)
9.อาจทำให้หลับดีขึ้น
เบียร์ที่อาจทำให้หลับง่ายขึ้นคือ เบียร์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ โดยการศึกษานี้ได้มีการศึกษาเมื่อปี้ 2012 ที่พบว่าการดื่มเบียร์ที่ทำจากฮอปส์ ไม่มีแอลกอฮอล์ พร้อมกับอาหารเย็น ทำให้ความเครียดลดลง รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ทำให้การนอนหลับดีขึ้น(9)
แต่ในทางตรงกันขาม เบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ อาจทำให้หลับยากขึ้น หลับๆตื่นๆตลอดทั้งคืน ทำให้คุณภาพการนอนไม่ดีพอ
ดื่มเบียร์ก่อนนอน จะเกิดอะไรขึ้น ?
มูลนิธิการนอนหลับ Sleepfoundation กล่าวว่า แอลกอฮอล์มีผลกดประสาท ทำให้ผ่อนคลายและง่วง แต่การดื่มมากเกินไป จะทำให้หลับๆตื่นๆ นอนหลับไม่เต็มที่ หรือนอนไม่หลับ และร้ายแรงสุดอาจถึงขั้นหยุดหายใจขณะหลับ (11)
การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปก่อนนอน จะทำให้ หลับๆตื่นๆ ทุกๆ 90-120 นาที นั่นหมายถึง การนอน 8 ชั่วโมง คุณจะตื่น 4 รอบ ยังไม่รวมการปวดฉี่จากการดื่มแอลกอฮอล์ และกระบวนหลับๆตื่นนี้จะทำให้คุณฝันแล้วฝันอีก หลับไม่สนิท ทำให้นอนไม่เพียงพอ และเกิดอาการง่วงซึม หลังจากดื่มหนักมาจากตอนกลางคืน
เบียร์ ดื่มตอนไหนดี
นักโภชนาการ Jerlyn Jones แนะนำว่าไม่ควรดื่มเบียร์หรือแอลกอฮอล์ขณะท้องว่าง เพราะจะทำให้แอลกอฮอล์เข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว และถ้าแอลกอฮอล์เข้าสู่กระแสเลือดเร็วเกินไปอาจเป็นพิษตามมาและอันตรายมาก
เพื่อที่จะเลี่ยงอันตรายจากการดื่มเบียร์ขณะท้องว่าง นักโภชนาการแนะนำว่าควรดื่มควบคู่กับอาหารมื้อใหญ่ เช่นอาหารเย็น แต่โปรดจำไว้ว่า ผู้หญิงไม่ควรดื่มเกิน 1 แก้วต่อวัน ผู้ชาย ไม่ควรเกิน 1-2 แก้วต่อวัน ถ้ามากกว่านั้น อาจส่งผลเสียและทำให้นอนไม่หลับได้ (12)
นอกจากเรื่องไม่ควรดื่มขณะท้องว่างแล้วนั้น ก็ไม่มีช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการดื่มเบียร์แล้ว และที่สำคัญ แอลกอฮอล์จากเบีย หรือ เครื่อง ส่งผลต่อแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน และอาจส่งผลต่อยาบางชนิดอีกด้วย
ผลของเบียร์ต่อสุขภาพ
ผลกระทบของเบียร์หลายอย่างต่อร่างกายมนุษย์ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากนักวิทศาสตร์
ผลกระทบร้ายแรงเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก เป็นผลที่ทราบกันดีอยู่แล้ว และถึงแม้ว่าผลของการดื่มแอลกอฮอล์ปานกลาง ยังมีความซับซ้อนและจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก เพราะด้วยเบียร์ที่หลากหลายยี่ห้อตามท้องตลาด
แต่ข่าวดีคือ เบียร์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์มีปลาโวนอยด์และสารประกอบอลิกอื่นๆ ที่ช่วยบำรุงหลอดเลือด และลดความเสี่ยงที่จะเกิดต่อหัวใจ แถมยังมีฤทธิ์ป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระ
แต่ ไม่แนะนำสหรับ ผู้หญิงตั้งครรภ์ เด็ก ภาวะซึมเศร้า ตับหรือไตมีปัญหา รวมถึงภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
สรุป
ประโยชน์ ของเบียร์ 9 ข้อที่กล่าวมาล้วนแต่มีการศึกษา วิจัย และตีพิมพ์ตามนิตยาสาร แต่ถึงแม้จะบอกว่ามีการศึกษาและวิจัย ก็ยังค่อนข้างที่จะแคบ และ การวิจัยค่อนข้างน้อยอยู่ แต่ปริมาณที่แนะนำต่อวันผู้หญิง ไม่ควรเกิน 1 แก้ว ผู้ชาย ไม่ควรเกิน 1-2 แก้ว ถ้าอยากบำรุงสุขภาพ แต่ถ้าอยากดื่ม เพื่อลืมเธอ ไม่แนะนำให้ดื่มหนัก คืนก่อนไปทำงาน หรือธุรสำคัญ เพราะจะทำให้นอนไม่เพียงพอ และเกิดอาการง่วง ซึม ทั้งวัน จากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ได้
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
- เบียร์อาจดีต่อสุขภาพหัวใจ | มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเพนน์
- ดื่มแอลกอฮอล์ในระยะยาวในหมู่ผู้รอดชีวิตจากกล้ามเนื้อหัวใจตาย | วารสารหัวใจยุโรป | อ๊อกซฟอร์ดวิชาการ
- เบียร์และประสาทสัมผัส | หอสมุดแห่งชาติแพทยศาสตร์
- ผลของแอลกอฮอล์ต่อเนื้องอก | หอสมุดแห่งชาติแพทยศาสตร์
- แอลกอฮอล์และความไวอินซูลิน | หอสมุดแห่งชาติแพทยศาสตร์
- เบียร์และระบบประสาท | หอสมุดแห่งชาติแพทยศาสตร์
- สารสกัดจากพืชต้านเหงือกอักเสบ | หอสมุดแห่งชาติแพทยศาสตร์
- ซิลิคอนรักษาโรคกระดูกพรุน | หอสมุดแห่งชาติแพทยศาสตร์
- เบียร์ไม่มีแอลกอฮอล์กับหญิงสุขภาพดี | journals
- เบียร์เป็นยา | healthline
- แอลกอฮอล์และการนอนหลับ | มูลนิธิการนอนหลับ
- เวลาที่ดีที่สุดในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ | ฮัฟฟ์โพสต์ไลฟ์