กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้ชาย อาจเป็นต่อมลูกหมากโต!

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้ชาย อาจเป็นต่อมลูกหมากโต

สารบัญเนื้อหา

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จะเกิดขึ้นบ่อยกับผู้หญิง เพราะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหรือกระบังลม หย่อนลง จึงทำให้เกิดมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แต่ก็สามารถพบเจอในผู้ชายได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป ก็มักจะเริ่มมีอาการแล้ว และหลายรายพอไปตรวจก็มักจะเจอว่าเป็นต่อมลูกหมากโต ซึ่งสามารถเกิดได้แค่กับผู้ชายเท่านั้น

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้ชาย

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้ชาย อาจเป็นต่อมลูกหมากโต!

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้ชายมักจะเจอในวัย 40 ปีขึ้นไปร้อยทั้งร้อยต้องมีปัญหาเกี่ยวกับปัสสาวะอย่างแน่นอนไม่ว่าจะเป็น ฉี่บ่อย ฉี่ไม่พุ่ง รู้สึกคั่งค้าง ที่สำคัญ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งถือเป็นอาการผิดปกติที่รุนแรง และทำให้การใช้ชีวิตประจำวันลำบากมากยิ่งขึ้น

เพราะเป็นช่วงวัย 40 – 49 ปีจะเป็นช่วงที่ผู้ชายมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนที่ค่อนข้างมากส่งผลให้อวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ ชื่อว่า ต่อมลูกหมาก เกิดขยายตัวใหญ่ขึ้น จนไปเบียดบังท่อทางเดินปัสสาวะ จนหระทั่งเข้าสู่ช่วง 50 ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ต่อมลูกหมากขยายโตเต็มที่ จนส่งผลให้เกิดความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะตามมา
อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มักพบในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการต่อมลูกหมากโตที่รุนแรงแล้ว ซึ่งหากคุณมีอาการระยะแรก เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะยาก ไม่สุด แต่ไม่รีบดูแลตัวเองโรคก็จะลุกลาม ท่อปัสสาวะอักเสบ เกิดอาการเบ่งแล้วปวดแสบ จนสุดท้ายกล้ามเนื้อท่อปัสสาวะเสื่อม ทำให้ไม่สามารถที่จะบังคับปัสสาวะได้เกิดเป็นอาการ กลั้นปัสสาวะ และคุมการไหลของปัสสาวะไม่ได้ตามมา ซึ่งหากเป็นถึงขั้นนี้แล้วจะทำให้การรักษานั้นเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดต่อมลูกหมาก หรือตัดแต่งท่อทางเดินปัสสาวะเลยทีเดียว
ในขณะเดียวกันอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาจเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ชายมีการกระทำที่สร้างแรงกดทับขึ้นบริเวณกระเพาะปัสสาวะ เช่น จามอย่างรุนงแรง หัวเราะ เปลี่ยนอริยาบท หรือกำลังออกแรงทำบางอย่าง ซึ่งปริมาณปัสสาวะที่เล็ดลอดออกมาก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพ และอาการของแต่ละคนอาจจะเพียงเล็กน้อย หรืออกมาในปริมามากจนเปียกแฉะก็เป็นไปได้เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นหากพบว่ามีเลือดออกมาปนกับปัสสาวะด้วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉันหาทางป้องกันอย่างเร็วที่สุด

อาการของโรคต่อมลูกหมากโต

  • ปัสสาวะบ่อยจนผิดปกติ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน
  • ปัสสาวะไม่พุ่ง กระปริบกระปรอย
  • รู้สึกว่าปัสสาวะไม่สุด คั่งค้าง ไม่โล่ง
  • ปัสสาวะยากก ต้องเบ่ง ไม่ลื่นไหล
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เล็ด คุมไม่ได้

ถ้าคุณเริ่มมีอาการข้างต้นข้อใดข้อหนึ่ง แสดงว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่อมลูกหมากโต ซึ่งเป็นโรคที่ผู้ชายวัย 50 ปี ประมาณ 80% ต้องเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สาเหตุการเกิดยังไม่ถูกยืนยัน และยังคงทำการศึกษากันอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่มีงานวิจัยพบความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศที่ไม่สมดุลกัน จึงทำให้ต่อมลูกหมากเกิดการเจริญเติบโตขึ้นมาอย่างผิดปกติ

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาจเป็นต่อมลูกหมากโต

การตรวจวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต

เบื้องต้นนั้นแพทย์จะทำการซักประวัติของผู้ป่วย เช่น อาการที่เจอ ความถี่ ความหนักเบาของแต่ละอาการ มีการคลำสวนตรวจขนาดของต่อมลูกหมากทางทวารหนัก ตรวจสิ่งเจือปนนปัสสาวะ เช็คอัตราการไหลของปัสสาวะว่าเป็นไปตามปกติมากน้อยแค่ไหน ใช้เครื่องมือตรวจเช็คการทำงานของไต อัตราคงค้างปัสสาวะในกระเพราะปัสสาวะ

นอกจากนั้นยังตรวจเลือดเพื่อหาค่า PSA (Prostate Specific Antigen) หรือสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก ถ้าในเลือดมีค่า PSA สูงก็มีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากสูง

หลังจากวินิจฉัยเสร็จสิ้น แพทย์จะให้ทำการรักษาตามอาการและความรุนแรง หากเบื้องต้นผู้ป่วยมีเพียงแค่อาการปัสสาวะบ่อย หรือเล็ดบ้างเป็นบางครั้ง แพทย์จะทำการจ่ายยาปรับฮอร์โมนหรือยาขยายท่อปัสสาวะให้มาทาน แต่ถ้าหากเริ่มมีอาการปัสสาวะไม่ออกอย่างรุนแรง ปวดท้องหน่วง มีเลือดปน นั่นคือสัญญาณร้ายที่ผู้ป่วยอาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดในระบบทางเดินปัสสาวะอย่างเร็วที่สุด อาจมีการใช้สายยางสวนท่อปัสสาวะ หรือผ่าตัดด้วยวิธีสอดกล้อง เจ็บตัว เสียเลือด และเสียเงิน ที่สำคัญการผ่าตัดยังไม่การันตีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นต่อมลูกหมากโต

แน่นอนว่าเมื่อเป็นโรคต่อมลูกหมากโตแล้วนั้น การพบแพทย์เป็นเรื่องสำคัญ แต่ว่าการดูแลตัวเองที่บ้านด้วยการลดการดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รวมไปถึงการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์สามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคต่อมลูกหมากโตได้ มีอาหารหลายชนิดที่มีสรรพคุณในการต่อสู้กับโรคนี้อยู่หลายชนิด สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก [ต่อมลูกหมากโต ควรกินอะไร]

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *