ต่อมลูกหมากโต คืออะไร? ทำไมผู้ชายทุกคนถึงเสี่ยงที่จะเป็น

ต่อมลูกหมากโต คืออะไร ทำไมผู้ชายทุกคนถึงเสี่ยงที่จะเป็น

สารบัญเนื้อหา

ต่อมลูกหมาก คืออะไร

ต่อมลูกหมาก (Prostate) คืออะไร ?

ต่อมลูกหมาก (Prostate) คืออวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศชายมีลักษณะคล้ายลูกเกาลัด อยู่รอบท่อปัสสาวะส่วนต้นบริเวณปากทางออกของกระเพราะปัสสาวะ ไม่สามารถตรวจพบได้ภายนอก และจะหยุดเจริญเติบโตเมื่อผู้ชายเข้าสู่วัยเต็มตัว (ราวๆ อายุ 25  ปี) มีหน้าที่สำคัญในการผลิตน้ำเมือกและน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ ซึ่งของเหลว 30% ของน้ำอสุจิถูกผลิตจากต่อมลูกหมาก

ซึ่งจะทำให้อสุจิเดินทางและมีชีวิตรอดอยู่ได้นานมากขึ้น ฉนั้นโรคนี้จึงเกิดได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้นนะ เมื่อผู้ชายอายุมากขึ้นต่อมลูกหมากจะยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น และเนื้อเยื่อจะมีการเปลี่ยนแปลง เป็นเนื้องอกธรรมดา แต่ไม่ใช่เนื้องอกมะเร็งนะ ปัจจัยที่ทำให้โตขึ้นเรื่อยๆ เชื่อว่าอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามฮอร์โมนเพศชาย และวัย ซึ่งพฤติกรรมต่างๆในการใช้ชีวิตประจำวันอาจก่อให้เกิดการเป็นโรคต่อม ลูกหมากโตได้ง่ายและไวยิ่งขึ้น จากการสำรวจพบว่า ผู้ชายวัย 40 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูง 30% และมีความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆถึง 80% จนถึงอายุ 60 และ70 ปี อัตราเสี่ยงอาจเพิ่มมากขึ้นหากมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องร่วมด้วย

ต่อมลูกหมากโต คืออะไร

ต่อมลูกหมากโต คืออะไร? ทำไมผู้ชายทุกคนถึงเสี่ยงที่จะเป็น

ต่อมลูกหมากโต คืออะไร คือภาวะที่อวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ชื่อ “ต่อมลูกหมาก” เกิดการขยายตัวใหญ่ขึ้นจนไปเบียดบัง “ท่อปัสสาวะ” ส่งผลให้ท่อปัสสาวะตีบและมีขนาดเล็กลง จนทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะไม่ออก ไม่พุ่ง รู้สึกว่าต้องใช้แรงเบ่ง แถมเบ่งยาก หากอาการหนักมากอาจมีอาการปัสสาวะเล็ดและปัสสาวะเป็นเลือดด้วย

โดยโรคนี้เกิดขึ้นแต่กับผู้ชายเท่านั้น โรค ต่อมลูกหมาก โต เป็นโรคสามัญประจำเพศชาย เพราะการสำรวจพบว่า ผู้ชายวัย 40 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูง 30% และมีความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆถึง 80% จนถึงอายุ 60และ70 ปี อัตราเสี่ยงอาจเพิ่มมากขึ้นหากมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องร่วมด้วย

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ เนื้องอกธรรมดา

ต่อมลูกหมากโต คือ เนื้องอกธรรมดา

เนื้องอกธรรมดา (Benign Tumor)

คือเนื้องอกที่เกิดขึ้น แล้วจะไม่ลุกลามหรือแพร่กระจาย ไปสร้างความเสียหายต่อเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงส่วนอื่นๆ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่อันตรายเลย เพราะเนื้อเยื่อธรรมดานี้ อาจก่อความเสียหายต่อร่างกายได้ เนื่องจากเนื้องอกนี้ไปกดทับอวัยวะสำคัญส่วนอื่นๆบริเวณใกล้เคียง

เนื้องอกธรรมดามีหลายชนิด โดยชนิดที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ฮีแมงจิโอมา (Hemangiomas)

คือการรวมตัวของเซลล์หลอดเลือดในผิวหนังหรือในอวัยวะภายในเกิดเป็นเนื้องอก ปรากฏในรูปของปานสีดำคล้ำหรือสีแดง

  • อะดีโนมา (Adenomas)

คือเนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อบุผิวของต่อมภายในร่างกาย ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้อาจพัฒนาไปเป็นเนื้อร้ายได้ แต่มีโอกาสเกิดน้อยกว่า 1 ใน 10 ครั้งที่พบเนื้องอกชนิดนี้

  • ไฝ หรือปาน (Nevi/Moles)

คือเนื้องอกที่เกิดขึ้นที่ผิวหนัง อาจเป็นจุดหรือบริเวณสีชมพู สีแทน สีน้ำตาล ไปจนถึงสีดำคล้ำ หากไฝหรือปานมีการเจริญเติบโตขึ้นอย่างผิดปกติหรือผิดรูปร่างไปจากเดิม อาจเป็นสัญญาณเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ

  • ออสทีโอคอนโดรมา (Osteochondroma)

คือเนื้องอกบริเวณกระดูกที่ทำให้เกิดปุ่มนูนตรงข้อต่อ อย่างหัวเข่าหรือหัวไหล่

  • ปาปิลโลมา (Papillomas)

คือเนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อบุผิวลักษณะคล้ายรูปนิ้วมือ อาจเกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง หรือเยื่อบุหนังตา

  • ไลโปมา (Lipomas)

หรือเนื้องอกไขมัน คือเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์ไขมัน มักเกิดขึ้นบริเวณลำคอ แขน ไหล่ หรือหลัง ลักษณะกลม เคลื่อนไปมาได้ ก้อนนุ่ม และเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ

  • ไฟโบรมา หรือไฟบรอยดส์ (Fibromas/Fibroids)

อาจเกิดกับเนื้อเยื่อบนร่างกาย โดยมากมักเกิดขึ้นในมดลูก และสร้างความเสียหายทำให้มีอาการอย่างเลือดไหลออกจากช่องคลอด ปวดท้องน้อย หรือมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ

  • ไมโอมา (Myoma)

คือเนื้องอกของกล้ามเนื้อ เติบโตในกล้ามเนื้อเรียบบริเวณอวัยวะต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อของผนังกระเพาะอาหาร มดลูก หลอดเลือด

  • นิวโรมา (Neuromas)

คือเนื้องอกที่เจริญเติบโตบริเวณเส้นประสาท พบมากในผู้ป่วยโรคทางพันธุกรรมนิวโรไฟโบรมาโตสิส (Neurofibromatosis) หรือโรคท้าวแสนปมนั่นเอง

  • เมนิงจิโอมา (Meningiomas)

คือเนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อหุ้มสมองและเยื่อหุ้มไขสันหลัง อาจจะทำให้เกิดอาการทางสมองและระบบประสาท เช่น ชัก บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง ปวดหัว อ่อนแรงครึ่งซีก มีปัญหาทางการมองเห็น เป็นต้น

ก่อนจะไปต่อหัวข้ออื่น รู้หรือไม่? ต่อมลูกหมากกับลูกอัณฑะไม่ใช่อวัยวะเดียวกันนะ!.

หลายคนๆมักเข้าใจผิดว่าต่อมลูกหมากคืออัณฑะ ซึ่งความจริงแล้วคือคนละอวัยวะกันเลย การทำงานต่างกัน และยังอยู่คนละที่กันอีกด้วย

อัณฑะ คืออะไร

อัณฑะ คืออะไร?

อัณฑะ (Testis) คือ เป็นอวัยวะก้อนรูปไข่ทรงกลม 2 อันอยู่ในถุงอัณฑะ (scrotum) ห้อยอยู่ภายนอกสองข้างใกล้กับอวัยวะเพศชาย ทำหน้าที่ผลิตอสุจิและผลิตฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเทอโรน ทำหน้าที่พัฒนาร่างกายและสร้างความเปลี่ยนแปลงเด็กผู้ชายในวัย 12-16 ปี ให้ไปสู่วัยเจริญพันธ์ุ เช่น มีเครา เสียงแตก ไหล่กว้าง จนไปถึงการมีความต้องการทางเพศ โดยภายในอัณฑะจะมีเส้นเลือดและหลอดเล็กๆ เพื่อทำหน้าที่สร้างอสุจิ เรียกว่า หลอดสร้างอสุจิ ฉนั้น อัณฑะกับ ต่อมลูกหมาก ไม่ใช่อวัยวะเดียวกันนะ

ต่อมลูกหมากโต สาเหตุ เกิดจากอะไร

ในปัจจุบันการแพทย์ยังไม่พบสาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไรกันแน่ แต่บางวิจัยพบว่าเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของอายุ เพราะไม่พบว่าคนมีผู้ที่อายุน้อยเป็นโรคต่อมลูกหมาก โต อีกทั้งยังมีข้อสันนิฐานว่า เกิดจากการไม่สมดุลกันระหว่างฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) และฮอร์โมนส์เพศหญิง (Estogen) เมื่อฮอร์โมนส์เพศชายมีน้อยกว่าฮอร์โมนส์เพศหญิง จะทำให้ต่อมลูกหมากเกิดการขยายตัวขึ้นนั่นเอง

อีกหนึ่งทฏษฎีได้บอกข้อสันนิฐานไว้ว่าต่อมลูกหมากโต คือการเกิดจาก ฮอร์โมนส์เพศชายตัวหนึ่ง ที่ชื่อว่า “dihytestosterone (DHT)” ที่ทำหน้าที่พัฒนาความเป็นชายต่างๆ เช่น ขนตามร่างกาย เสียงทุ้ม กล้ามเนื้อ เกิดการกลับมาทำงานและพัฒนาต่อมลูกหมากให้มีขนาดใหญ่อีกครั้ง

และยังมีการสันนิฐานว่า สาเหตุของต่อมลูกหมาก โต เกิดจากความเสื่อมของร่างกายตามอายุของเพศชาย หรือ เกิดจากพันธุกรรม

ต่อมลูกหมากโต อาการเป็นยังไง

ต่อมลูกหมากโต อาการเป็นยังไง?

อาการของ โรคต่อมลูกหมาก โต จะค่อนข้างคล้ายกันและชัดเจน สังเกตอาการได้ในระยะแรกเมื่อเป็นเลยทีเดียว

 

  • รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย จนผิดปกติ
  • ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
  • ปัสสาวะยาก ต้องใช้แรงเบ่ง
  • ปัสสาวะไม่พุ่ง กระปริบกระปรอย
  • ปัสสาวะเล็ด ควบคุมการไหลไม่ได้
  • ปัสสาวะเสร็จแล้วรู้สึกไม่สุด
  • ปัสสาวะแล้วแสบ มีเลือดติด

อาการเหล่านี้ผู้ป่วยมักพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ใช้ชีวิตประจำวันยาก” เพราะต้องมีการเข้าห้องน้ำตลอด นอนตอนกลางคืนก็ต้องตื่นลุกบ่อยทำให้พักผ่อนไม่พอ สร้างความหงุดหงิดและรำคาญใจเป็นอย่างมาก หลายๆคนไม่มีความสุขในชีวิต ขาดความมั่นใจและบางคนอาจมีภาวะอาการของซึมเศร้าร่วมด้วย

โรค ต่อมลูกหมาก โต อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ , ปัสสาวะไม่ออกเลย , กระเพาะปัสสาวะเสื่อม , ไตเสื่อม , นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ , ปัสสาวะเป็นเลือด  เป็นต้น อาจพบได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของผู้ป่วยต่อมลูกหมากทั้งหมด

ใครเสี่ยงเป็นโรคต่อมลูกหมากโต บ้าง

ผู้ชายวัย 40 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูง 30% และมีความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ ถึง 80% จนถึงอายุ 60 และ 70 ปี อัตราเสี่ยงอาจเพิ่มมากขึ้นหากคุณอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่า เช่น

  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วน (Obesity)
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (ขยับตัวน้อย ไม่ออกกำลังกายเลย)
  • ผู้ที่มีปัญหาในระบบเผาผลาญ (Metabolism Syndrome)
  • ผู้ที่มีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfuntional)
การตรวจต่อมลูกหมากโต

การตรวจต่อมลูกหมาก โต

1.การตรวจค่า PSA (Prostate-Specific Antigen) หรือค่าบ่งชี้ความผิดปกติของต่อมลูกหมาก 

เป็นการเจาะเลือดเพื่อหาปริมาณ แอนไทเจนท์ (Antigen) หรือโปรตีนที่ผลิตโดยต่อมลูกหมาก ซึ่งจะปะปนอยู่ในเลือดและมีปริมาณมากในน้ำอสุจิ หากมีค่าที่สูงเกินค่ามาตรฐานสัมพันธ์กับความเร็วที่เพิ่มขึ้นของ PSA อาจบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรค ต่อมลูกหมาก โตหรือมะเร็งต่อมลูกหมากได้

2.การส่องกล้องดูกระเพราะปัสสาวะ (Cystoscopy) 

เป็นการที่แพทย์จะใช้เครื่องมือที่มีลักษณะเป็นท่อยาวมีกล้องและไฟส่องสว่าง เรียกว่า คริสโตสโคป (Cystoscope) สอดผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปยังกระเพราะปัสสาวะเพื่อตรวจดูลักษณะของท่อปัสสาวะและเยื่อบุภายในท่อ เพื่อหาความผิดปกติและวินิจฉัยโรค อาจมีการตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจสอบด้วยเพื่อหาโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคอื่นๆ

3.ตรวจการควบคุมปัสสาวะ (Urodynamic Pressure)

วิธีนี้คือการตรวจความสามารถในการควบคุมการปัสสาวะ ตรวจสอบการทำงานของกล้ามเนื้อในระบบปัสสาวะต่างๆ หูรูดทำงานบีบตัวได้ดีหรือไม่ โดยจะทำหลายวิธีขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ เช่น การใช้แรงคลื่นไฟฟ้า การวัดปริมาณความดันของปัสสาวะ หรือการสวนท่อเพื่อหาสิ่งอุดตันในท่อปัสสาวะ เป็นต้น

4.การใช้นิ้วคลำตรวจต่อมลูกหมาก (DRE)

เป็นวิธีเบื้องต้นและมีราคาถูกที่สุด โดยแพทย์จะทำการใช้นิ้วสอดเข้าไปในทวารหนักเพื่อคลำหา ต่อมลูกหมาก ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นขน 

ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ต่อมลูกหมาก โต

  1. การตรวจสอบร่างกายและซักประวัติคนไข้โดยละเอียด ซึ่งรวมไปถึงการตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก(Digital Rectal Examination) ซึ่งแพทย์จะใช้นิ้วสวมถุงมือสอดเข้าไปในทวารหนักและกดลงบนต่อมลูกหมากเพื่อตรวจและประเมินขนาดของต่อมลูกหมากว่าผิดปกติหรือไม่
  2. ทำการทดสอบเพื่อวัดอัตราการไหลของปัสสาวะ
  3. ตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ
  4. วัดปริมาณปัสสาวะที่เก็บอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
ต่อมลูกหมากโต รักษาหายไหม

ต่อมลูกหมากโต รักษาหายไหม?

ต่อมลูกหมากโต คือโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และมีโอกาสกลับมาเป็นอีกหากไม่ดูแล โดยจากการสำรวจพบว่า ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด 75 คน จาก 100 คน มีอาการป่วยลดลงจริง สามารถใช้ชีวิตประจำวัน ได้ง่ายมากขึ้น แต่ไม่หายขาด ยังมีอาการอยูเล็กน้อย และยังมีผลข้างเคียงจากการผ่าตัดอีกด้วย

หากถูกวินิจฉัยว่าเป็น โรคต่อมลูกหมาก โต

ถ้าผู้ป่วยอาการไม่หนักมาก แพทย์จะทำการจ่ายยา ลดฮอร์โมนส์เพศชาย (Dihytestosterone) และยาลดการบีบรัดของท่อปัสสาวะ ช่วยให้ปัสสาวะคลายตัวได้ ส่งผลให้ปัสสาวะง่ายขึ้น
แต่ว่ายาเหล่านี้ต้องกินเพื่อคุมอาการยาวนานหลายปี มีโอกาสเสี่ยงที่จะดื้อยา จนทำให้ยาไม่เกิดผล ขั้นตอนต่อไปจึงเป็นการผ่าตัด ซึ่งก็มีหลายวิธีแตกต่างกันตามดุลพินิจของแพทย์

ต่อมลูกหมาก โต รักษาด้วยการผ่าตัดช่วยได้จริงเหรอ?

การผ่าตัดนั้นสามารถช่วยให้ต่อมลูกหมาก โตดีขึ้นได้ แต่ยังไงก็ยังไม่หายขาดอยู่ดี และบางทีก็ต้องใช้เวลาพักฟื้นนานอีกด้วย ฉนั้นถ้าอาการไม่ได้หนักจริงๆไม่แนะนำให้ผ่าตัด ให้เป็นการดูแลตัวเองแทน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องผ่าตัดก็มีอยู่ 2 วิธีที่นิยมผ่าตัดกัน คื

1.ผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง (TURP)
ต่อมลูกหมากโต สาเหตุ เกิดจากอะไร
1.ผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง (TURP) วิธีการผ่าตัดนี้ แพทย์จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรคเยอะและมีโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย โดยจะใช้การสอดท่อที่มีกล้องขนาดเล็กและมีเครื่องมือสำหรับตัดเนื้อเยื่อส่วนเกินของต่อมลูกหมากที่กดทับทางเดินปัสสาวะไว้ ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ มีการใช้ยาชาบริเวณส่วนร่างทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ โดยหลังการผ่าตัด 3 – 4 วันแรก ผู้ป่วยจะต้องใส่สายสวนปัสสาวะเพื่อพักกระเพราะปัสสาวะ และอาการจะดีขึ้นภายใน 2-4 สัปดาห์
ต่อมลูกหมากโต รักษาด้วยการผ่าตัดมีผลข้างเคียงยังไงบ้าง
2.การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ (Laser PVP)  ค่อนข้างคล้ายกับวิธีการส่องกล้อง แต่เปลี่ยนจากเครื่องมือสำหรับตัดเนื้อเยื่อ เป็นแสงเลเซอร์ที่มีความร้อน 120-180 วัตต์ เข้าไปละลายต่อมลูกหมาก วิธีนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยที่อายุเยอะ เพราะไม่มีการเสียเลือด นิ่มมวล ปลอดภัย เจ็บน้อย และมีการพักฟื้นที่สั้นกว่า พักเพียง 1 คืนเท่านั้นก็สามารถปัสสาวะได้เองโดยไม่ใช้สายสวน แต่วิธีการนี้ต้องใช้ค่าจ่ายใช้ที่สูงกว่ามาก

ต่อมลูกหมากโต รักษาด้วยการผ่าตัดมีผลข้างเคียงยังไงบ้าง

1.ถึงจุดสุดยอดแต่ไม่หลั่ง (Dry Orgasm) 
ผู้ป่วย 65 คน จาก 100 คน พบผลข้างเคียงในเรื่องของ มีการสำเร็จความใคร่แต่ไม่หลั่ง เพราะอวัยวะที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำอสุจิถูกตัดออกไป จึงทำให้ไม่มีการผลิตน้ำอสุจิหรือผลิตน้ำอสุจิน้อย อย่างไรก็ตามอาการนี้ไม่ถือว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่อาจสร้างความลำบากในเรื่องของเพศสัมพันธุ์และการสืบพันธุ์ได้นั่นเอง

2.อาจทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัว (Erectile Dysfuntional)
ยังไม่มีการรับรองว่าผลข้างเคียงนี้จะไม่เกิดขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ค่อนข้างกังวลกับผลข้างเคียงนี้ เพราะการจะทำให้กิจกรรมทางเพศหายไป

3.กระเพราะปัสสาวะอักเสบ (Bladder Inflamation)
อาจเกิดการติดเชื้อขึ้นจากยาเคมีหรือเชื้อโรคภายนอกเกิดในระหว่างการผ่าตัด ทำให้เกิดแผล ติดเชื้อ จนเกิดเป็นกระเพราะปัสสาวะอักเสบ และต้องใช้เวลาในการรักษาโรคนี้เพิ่มอีก
4.เกิดภาวะ ทียูอาร์ ซินโดรม (TUR Syndrome)
อาจมีการที่สารเคมีระหว่างการผ่าตัดรั่วไหลเข้ากระแสเลือด ทำให้มีอาการ เวียนหัว มึนหัว และมีผลกับระบบไหลเวียนเลือดได้ พบในผู้ป่วยจำนวนน้อย
โรค ต่อมลูกหมาก โต ยิ่งตรวจเร็วก็ยิ่งหาทางบรรเทาได้เร็ว อย่ารอจนคุณปัสสาวะเป็นเลือดหรือปัสสาวะแล้วปวดเลย หากเริ่มมีอาการ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะยาก ก็ควรเข้าพบแพทย์ระบบปัสสาวะจะดีกว่า

ต่อมลูกหมากโต สมุนไพรรักษาไม่จำเป็นต้องใช้ยา

ต่อมลูกหมากโต สมุนไพรรักษาไม่จำเป็นต้องใช้ยา

เนื่องจากผู้ป่วยบางกลุ่มไม่ต้องการเข้ารับการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน อันเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายระยะยาวและผลข้างเคียงที่ตามมา การแพทย์ทางเลือกอย่าง “การรักษาด้วยสมุนไพร” จึงถูกพัฒนาและนำมาใช้กับผู้ป่วย โรค ต่อมลูกหมาก โต มากขึ้น โดยสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดการเกิด โรค ต่อมลูกหมาก โต มีอยู่หลายชนิด เช่น  ถั่งเช่า ไลโครพีนจากมะเขือเทศ และสารสกัดจากบลูเบอร์รี่ ที่จะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนส์ให้คงที่ ลดการอักเสบ

การแพทย์ทางเลือกนี้จึงกลายมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้ป่วยให้ความสนใจ เพราะไม่ต้องเสี่ยงกับยาเคมีต่างๆ ไม่ต้องเจ็บตัวและใช้เงินเยอะ อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่าการกินยาและการผ่าตัด

สมุนไพร แก้ ต่อมลูกหมากโต

สมุนไพร แก้ ต่อมลูกหมากโต

ยังไม่มีการป้องกัน 100% รู้เพียงว่าต่อมลูกหมากโต คือ การขยายใหญ่โตขึ้นของต่อมลูกหมาก แต่มีการวิจัยพบว่า การทานอาหารที่มีสาร ไลโครพีน (Lycopene) จากผักและผลไม้สีแดง มีส่วนช่วยให้ค่า PSA ลดลง (ค่าบ่งชี้ความผิดปกติของต่อมลูกหมาก) และป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้ กลไกการทำงานคือ ไลโครพีน จะไปลดการผลิตฮอร์โมนเพศที่ทำหน้าที่กระตุ้นการโตของต่อมลูกหมาก (Alpha Dihytestosterone)

อาหารสีแดงนั้นมีสารไลโครพีนผสมอยู่แต่จำนวนจะมากน้อยต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและประเภท ซึ่งอาหารที่ถูกแนะนำก็คือ มะเขือเทศ เพราะงานวิจัยได้พบว่าต่อมลูกหมากโต คือการขยายของต่อมลูกหมาก และอาหารตระกูลมะเขือเทศมีปริมาณไลโครพีนอยู่มาก รองลงมาคือแตงโม งานวิจัยยังพบว่าการทานไลโครพีน 15 มิลลิกรัม ติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน สามารถป้องกันโรคต่อมลูกหมาก โตได้จริง ระดับ PSA มีปริมาณลดลงถึง 11% มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับไลโครพีนและได้รับไลโครพีนน้อยกว่า

ต่อมลูกหมาก โต สมุนไพรที่ใช้รักษายังมีอีกหลายอย่างที่นิยมกันอย่างเช่น

  • ฟักข้าว
    ด้วยสรรพคุณจากสารไลโคปีน ซึ่งเป็นตัวช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้ต่อมลูกหมาก โตมีขนาดเล็กลงได้ และยังป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วย
  • เมล็ดฟักทอง
    ด้วยเมล็ดฟักทองนั้นมีสารเคอร์ซิบิน ที่เป็นตัวช่วยรักษาอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางดึก และ ทำให้ผู้ป่วยโรค ต่อมลูกหมาก โตปัสสาวะคล่องขึ้น แถมยังมีสารเบต้าซิโตสเตอรอล ตัวช่วยยับยั้งสารที่จะไปกระตุ้นให้เนื้อเยื่อต่อมลูกหมากใหญ่ขึ้นได้อีกด้วย
  • น้ำมันรำข้าว
    ตัวช่วยลดอาการต่อมลูกหมาก โตให้กลับมาเป็นปกติได้หากรับประทานเป็นประจำ และยังสามารถ ต้านอนุมูลอิสระ ลดการแพร่กระจ่ายของมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • บวบหอม
    ตัวช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาปัสสาวะคล่องขึ้น และยังรักษาโรคต่อมลูกหมากอักเสบอีกด้วย
  • ผักบุ้งจีน
    ตัวช่วยรักษาอาการต่อมลูกหมาก เมื่อรับประทานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้อาการกลับมาปกติง่ายขึ้น
  • แร้งคอดำ
    สมุนไพรรักษาต่อมลูกหมาก ที่สรรพคุณโดดเด่น ช่วยลดขนาดต่อมลูกหมาก ลดการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แถมยังยับยั้งเซลล์มะเร็งอีกด้วย
ค่า PSA คืออะไร สำคัญอย่างไรกับผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต

ค่า PSA คืออะไร

PSA ( Prostate-specific antigen) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ผลิตขึ้นจากเซลล์ของต่อมลูกหมาก หน้าที่ของ PSA คือการทำให้น้ำอสุจิที่หลั่งออกมาสลายตัวเป็นของเหลว โดยมักจะออกจากร่างกายเราระหว่างการหลั่งอสุจิ และจะมีปริมาณน้อยเท่านั้นที่เล็ดออกไปจนสามารถตรวจพบได้ในกระแสเลือด ซึ่งทางการแพทย์จะใช้ค่าตรงนี้ในการประเมินความเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือต่อมลูกหมาก โต อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่า PSA

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *