โรคต่อมลูกหมากอักเสบ ปัญหาใหญ่ใกล้ตัวผู้ชาย

โรคต่อมลูกหมากอักเสบ ปัญหาใหญ่ใกล้ตัวผู้ชาย

สารบัญเนื้อหา

โรคต่อมลูกหมากอักเสบ ปัญหาใหญ่ใกล้ตัวผู้ชาย

รู้หรือไม่ว่าโรคต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นชื่อเรียกของโรคประจำสามัญประจำเพศชายที่หลายๆคนมักมองข้ามหรือไม่คุ้นหู แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ชายไทยมีอัตราการเกิดโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมากมากถึง 80% กันเลยทีเดียว สาเหตุหลักมาจากการที่อายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายก็ทรุดโทรมลง ฮอร์โมนส์เกิดการแปรปรวนและไม่สมดุล ไม่ต่างจากเพศหญิง

โรคต่อมลูกหมาก อักเสบ (Prostatitis)

เป็นการอักเสบบริเวณอวัยวะที่ชื่อว่า ต่อมลูกหมาก (Prostate) ขนาดเล็กคล้ายลูกวอลนัทอยู่ใกล้กับท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่ผลิตน้ำหล่อเลี้ยงอสุจิ เกิดการติดเชื้อ เป็นแผล หรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นจนส่งผลกระทบกับการถ่ายปัสสาวะได้ โรคต่อมลูกหมาก อักเสบสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ภาวะอาการอีกด้วย

ชนิดของ โรคต่อมลูกหมากอักเสบ

ชนิดของ โรคต่อมลูกหมากอักเสบ

1. ต่อมลูกหมาก อักเสบติดเชื้อแบบเฉียบพลัน (Acute Bacterial Prostatisis)

เป็นอาการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรง เฉียบพลัน อาจมีอาการหนาวสั่นเหมือนเป็นไข้ ตัวร้อน อาการที่สังเกตได้ชัดเจนคือการถ่ายปัสสาวะจะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะไม่ออก ไม่พุ่ง ติดขัด ปวดแสบ หรืออาจมีสีขุ่น มีเลือดปน เนื่องจากต่อมลูกหมากบวมขึ้นจนไปเบียดท่อปัสสาวะให้แคบลง อาจมีการติดเชื้อในกระแสเลือดเพิ่มด้วย

2. ต่อมลูกหมาก อักเสบ “ติดเชื้อ” เรื้อรัง (Chronic Bacterial Prostatisis)

ภาวะนี้อาการจะไม่รุนแรงเท่าชนิดฉับพลัน แต่จะเป็นอาการแบบเรื้อรัง เป็นๆหายๆ ไปเรื่อยๆหรือมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป มีปัญหาการปัสสาวะคล้ายกับชนิดฉับพลัน ผู้ป่วยมักมีประวัติการติดเชื้อและอักเสบ และมีอาการปวดในอุ้งเชิงกรานด้วย

3. ต่อมลูกหมาก อักเสบเรื้อรัง (Chronic Prostatitis / Chronic Pelvic Pain Syndrome)

เป็นภาวะต่อมลูกหมากอักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด โดยอาการหลักที่พบส่วนมากคือ อาการปวดเรื้อรังในอุ้งเชิงกราน มีอาการปวดบริเวณท้องน้อง บริเวณฝีเย็บ ทวารหนัก และถุงอัณฑะ อาจมีอาการปวดบริเวณอวัยวะเพศเป็นครั้งคราว นอกจากนี้อาจมีอาการปวดตามมาหลังจากการหลั่งอสุจิอีกด้วย ในปัจจุบันยังหาสาเหตุแน่ชัดของการเกิดโรคไม่ได้

4. ต่อมลูกหมาก อักเสบชนิดไม่มีอาการ (Asymptomatic Inflammatory Prostatitis)

เป็นการตรวจพบการอักเสบจากการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ซึ่งได้การเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก การผ่าตัดรักษาต่อมลูกหมากโต หรือการผ่าตัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก แต่พบเซลล์การอักเสบในชิ้นเนื้อที่ส่งตรวจ โดยผู้ป่วยไม่มีอาการของการอักเสบที่ต่อมลูกหมากมาก่อน ข้อมูลทางการศึกษา ณ ปัจจุบัน เชื่อว่าไม่มีความจำเป็นต้องให้การรักษ มีโอกาสสูงมากที่ โรคต่อมลูกหมาก อักเสบ จะเกิดจากภาวะอาการของ โรคต่อมลูกหมากโต ที่หากปล่อยไว้นานๆ ไม่รักษาก็อาจเกิดกลายเป็น โรคต่อมลูกหมาก อักเสบ หรือ ร้ายแรงขนาดเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งวิธีการรักษาจะยิ่งยากลำบากจนถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัดเลยทีเดียว แนะนำว่าหากเริ่มมีภาวะปัสสาวะผิดปกติ หรือ อายุ 40 ขึ้นปี ควรเข้ารับการตรวจต่อมลูกหมาก ปีละครั้ง หรือ สองปีครั้ง

การวินิจฉัย โรคต่อมลูกหมากอักเสบ

การวินิจฉัย โรคต่อมลูกหมากอักเสบ

1.การตรวจทางทวารหนัก (Digital Rectal Examination หรือ DRE)

เป็นวิธีเบื้องต้นที่แพทย์จะใช้นิ้วสวดใส่เข้าไปทางทวารหนักเพื่อคลำหาขนาดต่อมลูกหมากว่ามีขนาดผิดปกติหรือไม่ เพื่อวินิจฉัยในขั้นตอนต่อไป

2. การตรวจปัสสาวะ

ผู้ป่วยต้องนำปัสสาวะใส่ในขวดทดลองเพื่อให้แพทย์นำไปเพาะเชื้อและตรวจหาความผิดปกติ เพื่อยืนยันการอักเสบติดเชื้อ

3. การนวดต่อมลูกหมาก (Meares-Stamey test)

นวดเพื่อให้สารคัดหลั่งคั่งค้างออกมาอยู่ในท่อปัสสาวะ เพื่อให้แพทย์สามารถนำสารคัดหลั่งนั้นไปส่งตรวจได้ เป็นวิธีการที่จำเป็นเพื่อใช้แยก โรคต่อมลูกหมาก อักเสบติดเชื้อเรื้อรัง หรือ โรคต่อมลูกหมากลูกหมากอักเสบเรื้อรัง เป็นวิธีการที่ใช้หาแบตทีเรียปนเปื้อนในปัสสาวะที่ถูกต้องแม่นยำ แต่จะงดวิธีนี้หากถูกวินิจฉัยว่าเป็น โรคต่อมลูกหมาก อักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน

อาจจะมีการตรวจเพิ่มเติมอีกด้วย เช่น การเจาะเลือด PSA การทำภาพถ่ายรังสี ​Ultrasound หรือการตรวจเพาะเชื้อจากอสุจิ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

การรักษา โรคต่อมลูกหมาก อักเสบ

การใช้ยาปฏิชีวนะ ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อที่ตรวจพบและอาการของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยมีไข้สูง อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ แล้วเปลี่ยนเป็นชนิดรับประทานเมื่ออาการดีขึ้น สำหรับติดเชื้อชนิดเฉียบพลัน มักให้การรักษา 2-4 สัปดาห์ สำหรับติดเชื้อชนิดเรื้อรัง มักให้การรักษา 4-6 สัปดาห์ หรืออาจนานถึง 12 สัปดาห์
การรักษาแบบเรื้อรัง ยังเป็นหนึ่งในสิ่งที่ยากมากที่สุดในปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะกลไกการเกิดไม่แน่ชัด เนื่องจากการอักเสบชนิดนี้ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ณ ปัจจุบันที่ผู้ป่วยมีอาการ จึงยังเป็นที่ถกเถียงถึงความจำเป็น ในการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยกลุ่มนี้ คำแนะนำที่เป็นมาตรฐาน คือ ใช้การประเมินรูปแบบที่เด่นชัดตามกลุ่มอาการ เรียกว่าระบบ UPOINTs ที่แยกเป็น 7 กลุ่มอาการ แล้วรักษาตามกลุ่มอาการนั้น
แม้จะยังไม่มีวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพและยังไม่พบสาเหตุต้นตอจริง แต่ก็ยังพอมีวิธีป้องกันการเกิดโรคต่อมลูกหมากโตอยู่อย่างเช่น มะเขือเทศ และ ถั่งเช่า ดูแลตัวเองแต่เนิ่นๆ อาการจะได้หนักถึงขั้นรุนแรงต้องทั้งเจ็บ เสียเงิน และเสียสุขภาพได้

ติดต่อผู้เชี่ยวชาญ

หากมีคำถามหรือปัญหาสงสัย สามารถสอบถามทีมผู้เชี่ยวชาญของเราได้ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

อ้างอิง

www.bangkokhospital.com

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *